
27 ม.ค. ขิงจ๋า…. ดีจริงๆ
ขิงจ๋า…. ดีจริงๆ นะ
ขิงมีอยู่หลายชื่อ ตามแต่ละถิ่น ได้แก่ ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี), ขิงเผือก (เชียงใหม่), สะเอ (แม่ฮ่องสอน)[1]), ขิงบ้าน, ขิงแครง, ขิงป่า, ขิงเขา, ขิงดอกเดียว (ภาคกลาง), เกีย (จีนแต้จิ๋ว)
Zingiber officinale Roscoe : Ginger
วงศ์: Zingiberaceae
สรรพคุณ
เหง้า : รสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด เจริญอากาศธาตุ สารสำคัญในน้ำมันหอมระเหย จะออกฤทธิ์กระตุ้นการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ใช้เหง้าแก่ทุบหรือบดเป็นผง ชงน้ำดื่ม แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ เหง้าสด ตำคั้นเอาน้ำผสมกับน้ำมะนาว เติมเกลือเล็กน้อย จิบแก้ไอ ขับเสมหะ [2]
ต้น : รสเผ็ดร้อน ขับลมในลำไส้ ให้ผายเรอ แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วง
ใบ : รสเผ็ดร้อน บำรุงกำเดา แก้ฟกช้ำ แก้นิ่ว แก้ขัดปัสสาวะ แก้โรคตา ฆ่าพยาธิ
ดอก : รสเผ็ดร้อน แก้โรคประสาทซึ่งทำให้ใจขุ่นมัว ช่วยย่อยอาหาร แก้ขัดปัสสาวะ
ราก : รสหวานเผ็ดร้อนขม แก้แน่น เจริญอาหาร แก้ลม แก้เสมหะในลำคอ แก้บิด บำรุงเสียง แก้พรรดึก
ผล : รสหวานเผ็ด บำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง แก้เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ [3]
มาดูส่วนประกอบของขิง 100 กรัมกันบ้างดีกว่าค่ะว่าจะประกอบไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการอะไรบ้าง
ขิง 100 กรัมประกอบไปด้วย พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่, โปรตีน 0.4 กรัม, คาร์โบไฮเดรท 4.4 กรัม, ไขมัน 0.6 กรัม, เส้นใยอาหาร 0.8 กรัม, ธาตุเหล็ก 1.2 มิลลิกรัม, แคลเซียม 18 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม, เบต้า-คาโรทีน 10 ไมโครกรัม, วิตามินซี 1 มิลลิกรัม, ไธอะมีน 0.02 มิลลิกรัม, ไนอะซีน 1 มิลลิกรัม,ไลโบฟลาวิน 0.02 มิลลิกรัม
ขิงถือว่าเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาปรุงอาหารเพิ่มความหอมให้กับอาหาร ขิงอ่อนใช้เป็นผักจิ้ม ใช้ทำผัดขิง ใสในยำเช่นยำหอยแครง ใส่ในแกงฮังเล น้ำพริก กุ้งจ่อม ซอยใส่ในต้มส้มปลา เมี่ยงคำ ไก่สามอย่าง ใช้ทำขิงดอง ใส่ในบัวลอยไข่หวานเพื่อดับกลิ่นคาวไข่ [4] ทำเป็นอาหารหวาน เช่น น้ำขิง เต้าฮวย ขิงแช่อิ่ม ขนมปังขิง และยังทำเป็นขิงผงสำเร็จรูป สำหรับชงดื่ม
ในตำรับยาสามัญประจำบ้านของไทยก็มีส่วนผสมของเหง้าขิงแห้งหลายตำรับเช่น ประสะกระเพรา, วิสัมพยาใหญ่, ประสะกานพลู, มันทธาตุ, ธรณีสัณฑฆาต, ธาตุบรรจบ, ยาหอมอินทจักร, ยาหอมนวโกฐ, ยาบำรุงโลหิต, ประสะไพล, ยาไฟห้ากอง และยาไฟประลัยกัลป์ ซึ่งตำรับยาเหล่านี้มีฤทธิ์รสสุขุมไปจนถึงรสร้อน [5] ซึ่งในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและมีใยอาหารมาก นำเหง้าสดย่างไฟให้สุก ตำผสมกับน้ำปูนใสคั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือนำเหง้าสดหมกไฟรับประทานเมื่อมีอาการเบื่ออาหาร [6] และในบางตำรายาแผนโบราณได้กล่าวถึงสรรพคุณการรักษาด้านอื่นๆ เช่น บำรุงไขข้อ ช่วยฟอกโลหิต รักษาริดสีดวงทวาร รักษาภูมิแพ้อากาศ ช่วยควบคุมความดันโลหิต เป็นต้น
ถ้าหากคุณกินขิงเป็นประจำ คุณจะได้รับประโยชน์จากขิงอย่างไรบ้าง [7]
มาดูกัน…
1.ขิงมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอา
2.ขิงมีคุณสมบัติช่วยต้านมะ
3.ขิงยังช่วยลดภาวะความเสี่
4.ขิงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอ
5.ขิงช่วยบรรเทาอาการคลื่นไ
6.ขิงช่วยต่อต้านอาการอักเส
7.ขิงช่วยบรรเทาอาการอักเสบ
8.ขิงช่วยเพิ่มการพัฒนาด้าน
9.ช่วยลดอาการท้องอืด ทุกครั้งที่รู้สึกท้องอืดหร
10.ช่วยลดน้ำตาลในเลือด จากการศึกษาค้นพบว่าขิงผงมี
11.ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน ขิงจะไปช่วยสกัดฮอร์โมนที่เ
17,742 total views, 39 views today